หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ
(หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2566)
ปรัชญา
“มุ่งผลิตวิศวกรที่เชี่ยวชาญด้านการผลิต และบริการที่มีคุณภาพและคุณธรรมตรงความต้องการของตลาดในภาคอุตสาหกรรมและดำเนินการให้บริการทางวิชาการด้านวิศวกรรมแก่ภาครัฐ และเอกชน”
จุดเด่นของสาขาวิชา
“จบแล้วสามารถทำงานได้หลากหลาย เพราะการสอนแบบมุ่งเน้นองค์ความรู้ผสานกับการจำลองสถานการณ์จริงในภาคอุตสาหกรรม”
หลักสูตรมีมาตรฐานและได้รับการรับรองจาก สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.) และสภาวิศวกร
ข้อมูลหลักสูตร
ชื่อหลักสูตร | |
ภาษาไทย : | หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ |
ภาษาอังกฤษ : | Bachelor of Engineering Program in Industrial Engineering |
ชื่อปริญญาและสาขาวิชา | |
ชื่อเต็ม (ภาษาไทย) : | วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วิศวกรรมอุตสาหการ) |
(ภาษาอังกฤษ) : | Bachelor of Engineering (Industrial Engineering) |
ชื่อย่อ (ภาษาไทย) : | วศ.บ. (วิศวกรรมอุตสาหการ) |
(ภาษาอังกฤษ) : | B.Eng. (Industrial Engineering) |
อาจารย์ประจำหลักสูตร
อาจารย์นภารัตน์ ไพรินทร์
ประธานหลักสูตร
- อาจารย์วิทย์ วรรณวิจิตร
- อาจารย์ ดร.นุโรจน์ พานิช
- อาจารย์วิลาสินี รอดนิ่ม
- อาจารย์มนัสภรณ์ อำไพรัตน์
จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร จำนวน 136 หน่วยกิต
โครงสร้างหลักสูตร แบ่งเป็นหมวดวิชาที่สอดคล้องตามที่กำหนดไว้ในเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ดังนี้
หัวข้อ | หน่วยกิต |
1. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป เรียนไม่น้อยกว่า | 25 |
นักศึกษาจะต้องศึกษารายวิชาในหมวดวิชาศึกษาทั่วไป ไม่น้อยกว่า 25 หน่วยกิต โดยแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ดังนี้ | |
ส่วนที่ 1 ให้นักศึกษาทุกคนเรียน (บังคับเรียน 1 หน่วยกิต 16 ชั่วโมง)
| 1 |
TM 100 เทคนิคปรมัตถ์สมาธิสู่คุณธรรม | |
(Transcendental Medication Technique to Dharma) | |
ส่วนที่ 2 ให้นักศึกษาเรียนไม่น้อยกว่า 24 หน่วยกิต | 24 |
1. กลุ่มวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ | 6 |
2. กลุ่มวิชาภาษา | 6 |
3. กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์ | 6 |
4. กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์ | 6 |
2. หมวดวิชาเฉพาะด้าน เรียนไม่น้อยกว่า | 105 |
1. กลุ่มวิชาพื้นฐานทางวิศวกรรม เรียนไม่น้อยกว่า | 52 |
2. กลุ่มวิชาเฉพาะด้าน เรียนไม่น้อยกว่า | 53 |
2.1) วิชาเฉพาะบังคับ เรียนไม่น้อยกว่า | 47 |
2.2) วิชาเฉพาะเลือก เรียนไม่น้อยกว่า | 6 |
3. หมวดวิชาเลือกเสรี เรียนไม่น้อยกว่า | 6 |
รวม | 136 |
อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
- วิศวกรอุตสาหการ
- วิศวกรควบคุมกระบวนการผลิต
- วิศวกรในส่วนต่าง ๆ ภาคบริการ
- วิศวกรความปลอดภัย
- วิศวกรขาย
- วิศวกรออกแบบ
- วิศวกรประเมินโครงการ
- นักวิเคราะห์และออกแบบระบบการทำงาน
- นักด้านวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของโครงการ
- วิศวกรวางแผนการผลิต
- วิศวกรด้านการเงิน
- ผู้ประกอบการอิสระ
ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตร (PLOs)
- PLO1 กำหนดปัญหา และแก้ไขปัญหาทางวิศวกรรมอุตสาหการ โดยประยุกต์ศาสตร์ทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ พื้นฐานวิศวกรรมศาสตร์มาแก้ไขปัญหาได้
- PLO2 ใช้งานโปรแกรมเฉพาะทางวิศวกรรมอุตสาหการ เพื่อการเก็บข้อมูล ออกแบบวิธีการเก็บข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ พร้อมประยุกต์ทำงานด้านวิศวกรรมอุตสาหการได้
- PLO3 ประยุกต์กระบวนการทางวิศวกรรมอุตสาหการสำหรับการวางแผนและปรับปรุงกระบวนการให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลโดยสามารถวัดผลและประเมินผลได้
- PLO4 ประยุกต์พื้นฐานความรู้ด้านเศรษฐศาสตร์ เพื่อประเมินโครงการทางวิศวกรรมอันนำไปสู่การพัฒนาอย่างเป็นระบบ
- PLO5 ประยุกต์การออกแบบเชิงวิศวกรรม ที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพวิศวกรรมอุตสาหการ เพื่อให้ได้ผลงานที่ตรงกับความต้องการ โดยคำนึงถึงปัจจัยด้านสาธารณสุข ความปลอดภัย สิ่งแวดล้อม
ค่าใช้จ่ายของหลักสูตร
ผู้สำเร็จการศึกษาระดับ ม.6/ปวช. ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร 240,000 บาท
ผู้สำเร็จการศึกษาระดับ ปวส./อนุปริญญา/ปริญญาตรีใบที่ 2 ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร 150,000 บาท
- ใช้ระบบเหมาจ่าย รายเดือน เดือนละ 3,300 บาท
- สามารถกู้ กองทุนกู้ยืม กยศ.และกรอ.ได้
- สามารถเทียบโอนรายวิชาได้ ตามเกณฑ์การเทียบโอนของสถาบัน