คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันรัชต์ภาคย์

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล

(หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2566)

ปรัชญา

มุ่งผลิตวิศวกรที่มีคุณภาพและคุณธรรมตรงตามความต้องการของตลาดแรงงานภาครัฐ และเอกชน

จุดเด่นของสาขาวิชา

“หางานง่าย เนื่องจากทางหลักสูตรมุ่งเน้นผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ ความสามารถ ตามที่ตลาดต้องการและมีจิตสำนึกของคุณธรรม”

หลักสูตรมีมาตรฐานและได้รับการรับรองจาก สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.) และสภาวิศวกร

ข้อมูลหลักสูตร

ชื่อหลักสูตร
ภาษาไทย :
หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล
ภาษาอังกฤษ :
Bachelor of Engineering Program in Mechanical Engineering
ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
ชื่อเต็ม (ภาษาไทย) :
วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วิศวกรรมเครื่องกล)
(ภาษาอังกฤษ) :
Bachelor of Engineering (Mechanical Engineering)
ชื่อย่อ (ภาษาไทย) :
วศ.บ. (วิศวกรรมเครื่องกล)
(ภาษาอังกฤษ) :
B.Eng. (Mechanical Engineering)

อาจารย์ประจำหลักสูตร

อาจารย์พันธวัจน์ สิงห์เฉลิม

ประธานหลักสูตร

  • อาจารย์สุนทร วงศ์เสน
  • อาจารย์ชัชวาลย์ สอนศิริ
  • อาจารย์ชินโชติ ถิรกุลวงศ์
  • อาจารย์อลัมพล เจริญกิจ

จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร จำนวน 136 หน่วยกิต

โครงสร้างหลักสูตร แบ่งเป็นหมวดวิชาที่สอดคล้องตามที่กำหนดไว้ในเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ดังนี้

หัวข้อ
หน่วยกิต
1. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป เรียนไม่น้อยกว่า
25
นักศึกษาจะต้องศึกษารายวิชาในหมวดวิชาศึกษาทั่วไป ไม่น้อยกว่า 25 หน่วยกิต โดยแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ดังนี้
ส่วนที่ 1 ให้นักศึกษาทุกคนเรียน (บังคับเรียน 1 หน่วยกิต 16 ชั่วโมง)
1
TM 100 เทคนิคปรมัตถ์สมาธิสู่คุณธรรม
(Transcendental Medication Technique to Dharma)
ส่วนที่ 2 ให้นักศึกษาเรียนไม่น้อยกว่า 24 หน่วยกิต
24
1. กลุ่มวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์
6
2. กลุ่มวิชาภาษา
6
3. กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์
6
4. กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์
6
2. หมวดวิชาเฉพาะด้าน เรียนไม่น้อยกว่า
105
1. กลุ่มวิชาพื้นฐานทางวิศวกรรม เรียนไม่น้อยกว่า
61
2. กลุ่มวิชาเฉพาะด้าน เรียนไม่น้อยกว่า
61
2.1) วิชาเฉพาะบังคับ เรียนไม่น้อยกว่า
38
2.2) วิชาเฉพาะเลือก เรียนไม่น้อยกว่า
6
3. หมวดวิชาเลือกเสรี เรียนไม่น้อยกว่า
6
รวม
136

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

  • วิศวกรเครื่องกล
  • ข้าราชการ
  • นักวิชาการ
  • นักวิจัย
  • พนักงานรัฐวิสาหกิจ
  • พนักงานในภาคเอกชน
  • ประกอบอาชีพอิสระ
  • อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานด้านวิศวกรรมเครื่องกล

ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตร (PLOs)

  • PLO 1 อธิบายศาสตร์พื้นฐานเกี่ยวกับความรู้ทางด้านคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และความรู้ทางด้านวิศวกรรมเครื่องกลได้
  • PLO 2 ประยุกต์ใช้ศาสตร์ความรู้ ทางด้านคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และความรู้ทางด้านวิศวกรรม เครื่องกลในการ ประเมินตรวจสอบ วิเคราะห์ แก้ไขปัญหาทางด้านวิศวกรรมเครื่องกล และสามารถทำงานทางด้านวิศวกรรมเครื่องกลได้
  • PLO 3 ปฏิบัติตนเป็นวิศวกรเครื่องกล ที่มีคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณและจิตสำนึกที่ดี มีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม และสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้
  • PLO 4 ดำเนินงานวิจัยทางด้านวิศวกรรมเครื่องกลและงานวิจัยอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องได้
  • PLO 5 พัฒนาความรู้ความสามารถของตนเอง ทั้งความรู้ในด้านวิศวกรรมเครืองกล เทคโนโลยีสารสนเทศและความรู้ด้านอื่นๆ เพื่อให้เท่าทันความก้าวหน้าของสังคมยุคปัจจุบัน นำไปสู่การเรียนรู้อย่างยั่นยืนได้ตลอดชีพ

ค่าใช้จ่ายของหลักสูตร

ผู้สำเร็จการศึกษาระดับ ม.6/ปวช. ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร 240,000 บาท
ผู้สำเร็จการศึกษาระดับ ปวส./อนุปริญญา/ปริญญาตรีใบที่ 2 ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร 150,000 บาท

    • ใช้ระบบเหมาจ่าย รายเดือน เดือนละ 3,300 บาท
    • สามารถกู้ กองทุนกู้ยืม กยศ.และกรอ.ได้
    • สามารถเทียบโอนรายวิชาได้ ตามเกณฑ์การเทียบโอนของสถาบัน
Scroll to Top